ชื่อที่เคยใช้เรียก ของ วัดอัมพวัน (จังหวัดลพบุรี)

วัดสุสาน เคยถูกใช้เรียกวัดอัมพวันอยู่ในสมัยหนึ่ง ด้วยเหตุที่ในยุคหนึ่งวัดอัมพวันปลูกสร้างกุฏิสงฆ์แยกออกเป็น ๒ หลังอย่างชัดเจน เพราะอยู่ห่างไกลกันมีป่ารกทึบคั่นกลาง จึงดูเหมือนแยกกันเป็น ๒ วัด คือ วัดนอก ริมแม่น้ำลพบุรี และ วัดใน อยู่ลึกเข้ามาจากริมแม่น้ำติดป่าช้า เนื่องจากสมัยนั้น วัดอัมพวันปกครองโดยหลวงปู่ทอกรัก เจ้าอาวาส และยังมี อาจารย์แจะ ซึ่งมีพรรษาใกล้เคียงกับหลวงปู่ทอกรัก วิสัยของอาจารย์แจะท่านชอบสันโดษ จึงปลีกวิเวกไปปลูกกุฏิอยู่ข้างป่าช้า ต่อมาภายหลังมีพระสงฆ์ย้ายไปอยู่กับท่านเพิ่มขึ้น

เจดีย์พระอุโบสถศาลาการเปรียญพระประธานภายในพระอุโบสถหอระฆัง

วัดสุด ก็เป็นอีกชื่อหนึ่งที่หมายถึงวัดอัมพวัน ด้วยเหตุที่ชุมชนมอญบางขันหมากมีชาวมอญอาศัยกันอยู่อย่างหนา แน่น ประกอบกับชาวมอญเป็นผู้ที่มีจิตเป็นกุศลยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า นิยมสร้างวัดไว้ในบวรพุทธศาสนา และใช้เป็นสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนา เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของบุตรหลานชาวมอญบางขันหมากจึงได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้น ในชุมชนถึง ๔ แห่งด้วยกัน คือ วัดโพธิ์ระหัต วัดกลาง วัดอัพวัน และวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม ซึ่งวัดอัมพวันอยู่ใต้สุดของตำบลบางขันหมากใต้ ติดกับตำบลพรหมมาสตร์ ชาวบ้านจึงนิยมเรียกวัดอัมพวันตามสำเนียงมอญว่า “เภี่ยฮะโม” ส่วนในภาษา ไทยเรียกว่า “วัดสุด” ตามภูมิประเทศนั่นเอง

ใกล้เคียง

วัดอัมพวัน วัดอัมพวัน (จังหวัดสิงห์บุรี) วัดอัมพวัน (จังหวัดลพบุรี) วัดอัมพวันเจติยาราม วัดอัมพวัน (กรุงเทพมหานคร) วัดอัมพวัน (จังหวัดนครนายก) วัดอัมพวัน (จังหวัดนนทบุรี) วัดอัมพวัน (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) วัดอัมพวัน ก.ม. 7